วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


กล้องโทรทรรศน์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กล้องโทรทรรศน์
        กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) หรือ กล้องดูดาว เป็นทัศนูปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย เลนส์นูนสองชุดทำงานร่วมกัน หรือ กระจกเงาเว้าทำงานร่วมกับเลนส์นูน เลนส์นูนหรือกระจกเงาเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านใกล้วัตถุทำหน้าที่รวมแสง ส่วนเลนส์นูนที่อยู่ใกล้ตาทำหน้าที่เพิ่มกำลังขยาย การเพิ่มกำลังรวมแสงช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุที่มีความสว่างน้อย  การเพิ่มกำลังขยายช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุมากขึ้น 
        กล้องโทรทรรศน์มีสามประเภท คือ กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง และกล้องโทรทรรศน์แบบผสม  กล้องส่องทางไกลชนิดสองตา มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง เพียงแต่ใช้ปริซึมหักเหแสงไปมาเพื่อลดระยะความยาวของลำกล้อง  
        ขาตั้งกล้องโทรทรรศน์มีสองประเภทคือ ขาตั้งแบบอัลตาซิมูธ สามารถปรับกล้องตามมุมทิศและมุมเงิน ขาตั้งแบบศูนย์สูตร ช่วยหันกล้องติดตามดาว เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก 

ยานอวกาศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยานอวกาศ
ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลก โดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับการสำรวจหรือไม่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไป แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จึงอาจแยกยานอวกาศออกเป็น 2 พวกคือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ขับคุม
ยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่มีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วยได้แก่ ยานอวกาศเมอร์คิวรี ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน ยานอวกาศเจมินีส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 2 คน ยานอวกาศอะพอลโลส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปคราวละ 3 คน ยานอวกาศอะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศที่นำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมนุษย์อวกาศหลายคนและสัมภาระต่าง ๆ รวมทั้งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แล้วนำนักบินอวกาศกลับสู่พื้นโลกได้คล้ายเครื่องร่อน
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์อวกาศขับคุมได้แก่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวดวงอื่น เช่น ยานเซอร์เวเยอร์ ซึ่งไปลงดวงจันทร์ ยานไวกิงไปลงดาวอังคาร ยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานแมกเจลแลนสำรวจดาวศุกร์ ฯลฯ

จรวด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ pkov;dkL

อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตรแต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย  เมื่อสามร้อยปีมาแล้ว  เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก  อธิบายว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูงแล้วปล่อยวัตถุให้หล่น วัตถุจะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างวัตถุออกไปในทิศทางขนานกับพื้น วัตถุจะเคลื่อนที่เป็นเส้น แรงลัพธ์ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกันทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวิถีโค้ง   ถ้าเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งน้อยลง วัตถุจะยิ่งตกไกลขึ้น (B)   และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก วัตถุจะไม่ตกสู่พื้นโลกแต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะเช่นนี้ว่า การตกอย่างอิสระ” (Free fall)  และนี่คือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก หากเราเพิ่มแรงให้กับวัตถุมากขึ้นไปอีกก็จะได้วงโคจรเป็นรูปวงรี (D)  และถ้าเราส่งวัตถุด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที วัตถุจะไม่หวนกลับคืนมาแต่จะเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศ (E) เราเรียกความเร็วนี้ว่า ความเร็วหลุดพ้น” (Escape speed) และนี่คือหลักการส่งยานอวกาศไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น


        จรวด (Rocket) เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนพาหนะสำหรับขนส่งอุปกรณ์หรือมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ จรวดสามารถเดินทางไปในอวกาศ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนในบรรยากาศมาใช้ในการสันดาปเชื้อเพลิง ทั้งนี้เพราะว่าจรวดมีถังบรรจุออกซิเจนอยู่ในตัวเอง  จรวดที่ใช้เดินทางไปสู่อวกาศจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมากและต่อเนื่อง เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) ซึ่งมีความเร่ง 9.8 เมตร/วินาที2  ในการเดินทางจากพื้นโลกสู่วงโคจรรอบโลก จรวดทำงานตามกฎของนิวตัน 3 ข้อดังนี้
กฎข้อที่ 3แรงกริยา = แรงปฏิกิริยาจรวดปล่อยแก๊สร้อนออกทางท่อท้ายด้านล่าง (แรงกริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ขึ้นสู่อากาศ (แรงปฏิกิริยา)
กฏข้อที่ 2 "ความเร่งของจรวดแปรผันตามแรงขับของจรวด แต่แปรผกผันกับมวลของจรวด" (a = F/m) ดังนั้นจรวดต้องเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเร่งเอาชนะแรงโน้มถ่วง  และเพื่อให้ได้ความเร่งสูงสุด นักวิทยาศาสตร์จะต้องออกแบบให้จรวดมีมวลน้อยที่สุดแต่มีแรงขับดันมากที่สุด
กฎข้อที่ 1 "กฎของความเฉื่อย" เมื่อจรวดนำดาวเทียมหรือยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรรอบโลกแล้ว จะดับเครื่องยนต์เพื่อเคลื่อนที่ด้วยแรงเฉื่อย ให้ได้ความเร็วคงที่ เพื่อรักษาระดับความสูงของวงโคจรให้คงที่

สถานีอวกาศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถานีอวกาศ
สถานีอวกาศ หมายถึงสถานีหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคลื่อนรอบโลก เช่น สถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐอเมริกา โดยความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดาและรัสเซียการออกไปนอกโลก ความเร็วต่ำสุดที่จะพาดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ต้องไม่ต่ำกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 28,476 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าออกไปเร็วมากกว่านี้ยานจะออกไปไกลจากผิวโลกมากขึ้น เช่น ถ้าไปเร็วถึง 38,880 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะไปอยู่สูงถึง 35,880 กิโลเมตร และเคลื่อนรอบโลกรอบละ 24 ชั่วโมง เร็วเท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก ดาวเทียมที่อยู่ในวงจรเช่นนี้จะอยู่ค้างฟ้า ณ ที่เดิมตลอด 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
ปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศสัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น  โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่

การสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม  ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ  ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์  โทรเลข  โทรสาร  รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ

การพยากรณ์อากาศ
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา  เช่น  จำนวนและชนิดของเมฆ  ความแปรปรวนของอากาศ  ความเร็วลม  ความชื้น  อุณหภูมิ  ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะการเกิดพายุ

การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นดาวเที่ยมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา  นิเวศวิทยา  เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสุริยะ


การกำเนิดสุริยะ
1. แก๊สและฝุ่นเคลื่นที่ตลอดเวลา ใจกลางมีมวลมากขึ้น และเมื่อกลุ่มแก๊สมีมวลมากขึ้นจะเริ่มหดตัวด้วยแรงโน้มถ่วง
2. เมื่อมีการยุบตัวทำให้เกิดความดันมากขึ้น ใจกลางมีอุณหภูมิสูงกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด จนเกิดปฆฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ เกิดเป็นดวงอาทิตย์
3. ฝุ่นและแก๊สที่เหลือรอบนอกเคลื่นที่หมุนวนเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์
4. ใกล้ดวงอาทิตย์รวมตัวเป็นของแข็ง ซึ่งก็คือ ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคาร
ไกลออกไปเป็นดาวขนาดใหญ่ที่มีส่วนประกอบเป็นแก๊ส ซึ่งก็คือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
5. ของแข็งที่เหลือกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย
6. สสารที่กระจายรอบนอกเป็นแหล่งกำเนิดดาวหาง

เขตบริวารดวงอาทิตย์
มี 4 คือ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขตบริวารดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ชั้นใน ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร เป็นพื้นผิวแข็งเป็นหิน ใช้เวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งร้อยล้านปีหลังจากการเกิดดวงอาทิตย์
แถบดาวเคราะห์น้อย เกิดจากการถูแรงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี และดวงอาทิตย์ทำให้รวมตัวเป็นก้อนใหญ่ไม่ได้
ดาวเคราะห์ชั้นนอก เป็นไฮโดรเจนกับฮีเลียม มีดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
เขตนอกสุด ดาวางออร์ต 
                             
การแบ่งดาวเคราะห์เพื่อการสังเกตจากโลก
ดาวพุธและดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน
ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์วงนอก
ดวงอาทิตย์ (The Sun) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก อยู่ห่างจากโลก 149,600,000 กิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU)  ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก 333,000 เท่า แต่มีความหนาแน่นเพียง 0.25 เท่าของโลก เนื่องจากมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1%

โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Fusion core)อยู่ที่ใจกลางของดวงงอาทิตย์ถึงระยะ 25% ของรัศมี จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหลอมอะตอมของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม และปลดปล่อยพลังงานออกมา
โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ 25 - 70% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นจากแก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกนำขึ้นสู่ชั้นบนโดยการแผ่รังสีด้วยอนุภาคโฟตอน

โซนการพาความร้อน (Convection zone) อยู่ที่ระยะ 70 - 100% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นไม่สามารถแผ่สู่อวกาศได้โดยตรง เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์เต็มไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนซึ่งเคลื่อนที่หมุนวนด้วยกระบวนการพาความร้อน  พลังงานจากภายในจึงถูกพาออกสู่พื้นผิวด้วยการหมุนวนของแก๊สร้อน

คอโรนา (Corona) เป็นบรรยากาศชั้นบนสุด สามารถมองเห็นได้เป็นวงแสงสีขาว เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น

ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์
  โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ชั้นในสุดมองเห็นได้
  โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นบรรยากาศชั้นกลางของดวงอาทิตย์  ของเขตไม่แน่นอนเนื่องจากบรรยากาศในชั้นนี้ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

 ลมสุริยะ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
         ดวงอาทิตย์เป็นก้อนแก๊สซึ่งมีอุณหภูมิสูงจนอะตอมของไฮโดรเจนสูญเสียอิเล็กตรอนกลายเป็นประจุทุกๆ วินาที เราเรียกสถานะนี้ว่า "พลาสมา" (Plasma)  ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยมวลสู่อวกาศในรูปของลมสุริยะ (Solar Wind)  ลมสุริยะไม่ใช่กระแสลมในบรรยากาศ  แต่เป็นกระแสอนุภาคพลังงานสูงซึ่งเกิดจากแก๊สร้อนของดวงอาทิตย์สูญเสียประจุสู่ห้วงอวกาศในรูปของโปรตอน อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ
ผลกระทบคือ เกิดแสงเหนือใต้ ไฟฟ้าแรงสูงดับในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ การสื่อสารทางวิทยุติดขัด เป็นภัยต่อนักบินอวกาศ ทำให้ร่างกายมนุษย์อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ถึงระดับDNAทำให้พันธุกรรมผิดเพี้ยนไปได้

ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลากลายเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด การวิวัฒนาการจะขึ้นอยู่กับมวล
มวลน้อย มีแสงสว่างไม่มาก ใช้เชื้อเพลิงน้อย มีชีวิตยาว จบด้วยการไม่ระเบิด
มวลมาก มีแสงสว่างมาก ใช้เชื้อเพลิงสิ้นเปลือง มีชีวิตสั้น จบด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่าซูเปอร์โนวา
จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลตั้งต้นมากกว่า 9 ตันเท่าของดวงอาทิตย์ จะมีการระเบิดและดาวจะยุบตัวกลายเป็นนิวตรอนหรือหลุมดำ

กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลาเอง ความดันของเนบิวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิภายในสูงขึ้น และเกิดเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด
แรงโน้มถ่างมากกว่าความดัน เกิดการยุบตัวอีกจนอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ กลายเป็นดวงอาทิตย์เกิดใหม่
ในอนาคต ดวงอาทิตย์จะยุบตัว และเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์อีกรอบ นิวเคลียสฮีเลียมเปลี่ยนเป็นนิวเคลียสของคาร์บอน ในขณะเดียวกันฮีเลียมรอบนอกก็กลายเป็นฮีเลียมอีกครั้ง อุณหภูมิมิผิวจะลดลง สีเปลี่ยน จะกลายเป็นดาวยักษ์สีแดง
ดาวยักษ์สีแดงจะไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์อีก ดาวจะยุบลงงเป็นแคระขาวและแก๊สที่อยู่รอบนอกจะเกิดเป็นเนบิลลาและเคลื่ยนตัวออกจากขาว
ดาวแคระขาวและเนบิวลาเป็นจุดสุดท้ายของดวงอาทิตย์

ความส่องสว่างเเละโชติมาตรของดาวฤกษ์ 
ความส่องสว่าง(Brightness)ของดาวฤกษ์ เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาในเวลา 1 วินาทีต่อหน่วยพื้นที่  มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร ค่าการเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ เรียกว่า อันดับความสว่าง (Magnitude) ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.51เท่า
โชติมาตรของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลก เรียกว่า โชติมาตรปรากฏ(Apparent magnitude) นำมาใช้เปรียบเทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ไม่ได้ นักดาราศาสตร์จึงกำหนดโชติมาตรสัมบูรณ์(Absolute magnitude) เป็นค่าโชติมาตรของดาวเมื่อดาวนั้นอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่ากับ 10 พาร์เซก หรือ 32.62 ปีแสง นำมาใช้เปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ทั้งหลาย
***ดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยจะมีความสว่างมาก ดาวที่มีค่โชติมาตรมากจะมีความสว่างน้อย

สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์


ระยะห่างของดาวฤกษ์
นักดาราศาสตร์จึงคิดค้นหน่วยวัดระยะทางที่เรียกว่า ปีแสง (light-year) ซึ่งเป็นระยะทางที่แสงใช้เวลาเดิน ทางเป็นเวลา 1 ปี แสงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300,000  km/s  ดังนั้น ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าเท่ากับ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร
นัก ดาราศาสตร์ได้พบวิธีที่จะวัดระยะห่างของดาวฤกษ์เหล่านี้โดยวิธีการใช้ แพรัลแลกซ์(Parallax)
แพรัลแลกซ์ คือการย้ายตำแหน่งปรากฏ ของวัตถุเมื่อผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งต่างกัน

เมื่อโลกอยู่ที่  E1 ผู้สังเกตเห็นดาวฤกษ์ S อยู่ที่ S2 ระยะเชิงมุม S1 ถึง  \displaystyle S_2=2\theta ซึ่งเป็นมุมแพรัลแลกซ์ของดาว S สังเกตุจากจุดที่ห่างกัน 2a หรือ 2 หน่วย ดาราศาสตร์ เมื่อ a =1 หน่วยดาราศาสตร์ ดังมุม \displaystyle \theta จึงเป็นมุมแพรัลแลกซ์สำหรับฐานของการสังเกตที่ห่างกัน 1 หน่วยดาราศาสตร์ ถ้า \displaystyle \theta เท่ากับ p พิลิปดา   ระยะทางของดาวฤกษ์ S จากโลกจะเป็น\displaystyle <br />
\frac{1}{p} พาร์เซก 

ระบบดาวฤกษ์
ระบบดาว (Star system) คือดาวฤกษ์กลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่งที่โคจรอยู่รอบกันและกันโดยมีแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้จับกลุ่มกันไว้ สำหรับดาวฤกษ์จำนวนมากที่มีแรงดึงดูดระหว่างกันมักเรียกว่าเป็น กระจุกดาว  แม้ในหลักการแล้ว ทั้งกระจุกดาวและดาราจักร ก็ถือเป็น ระบบดาว เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปรากฏเรียกใช้คำว่า ระบบดาว กับระบบที่มีดาวฤกษ์หนึ่งดวง กับดาวเคราะห์บริวารที่โคจรรอบๆ ด้วย
มวลของดาวฤกษ์
เนื่องจากดาวมีขนาดใหญ่มาก เราจึงไม่สามารถทำการหามวลของดาวด้วยวิธีชั่งตวงวัด นักดาราศาสตร์ไม่สามารถคำนวณหาขนาดมวลของดาวดวงเดียวโดดๆ ได้ แต่จะคำนวณหามวลของระบบดาวคู่ซึ่งโคจรรอบกันและกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์​ระหว่างคาบวงโคจรและระยะห่างระหว่างดาวทั้งสอง  ตามกฎของเคปเลอร์-นิวตัน ตามสูตร  

                    M1 + M2 = a3 / p2

        โดย M1, M2 = มวลของดาวทั้งสองในระบบดาวคู่ มีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของดวงอาทิตย์ 
                       a = ความยาวของเส้นผ่านครึ่งวงโคจรตามแกนยาว (Semimajor axis)
                             ของดาวดวงใดดวงหนึ่ง มีหน่วยเป็น AU               
                       p = คาบการโคจร หน่วยเป็นปี



























วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

เอกภพ

เอกภพ(Universe)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอกภพ

เอกภพ (Universe) หรือ จักรวาล หมายถึงทั้งหมดทุกสรรพสิ่ง นักดาราศาสตร์พยายามศึกษาว่า เอกภพกว้างใหญ่เพียงใด มีกาแล็กซีอยู่จำนวนเท่าใด ปัจจุบันเราทราบว่า กาแล็กซีไม่ได้กระจายตัวกันในเอกภพ หากแต่อยู่รวมกลุ่มเป็นกระจุก กระจุกกาแล็กซีทั้งหลายกำลังเคลื่อนที่ออกจากโลกในทุกทิศทาง แสดงว่า เอกภพกำลังขายตัว  นักดาราศาสตร์ศึกษาอัตราการขยายตัวของเอกภพโดยใช้กฏของฮับเบิล แล้วคำนวณย้อนกลับพบว่า เอกภพมีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี ซึ่งอธิบายโดยใช้ทฤษฎีบิกแบง

เอกภพวิทยาในอดีต


1.แบบจำลองเอกภพของชาวสุเมเรียนและแบบจำลองเอกภพของชาวบาบิโลน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลองเอกภพของชาวสุเมเรียนและแบบจำลองเอกภพของชาวบาบิโลน

  7,000ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวสุเมเรียนบันทึกด้วยอักษร"คูนิฟอร์ม"ว่าโลกแบนอยู่กับที่และเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนที่ทั้งหมด ตามความเชื่อที่ว่า"เทพเจ้าปกครองโลก" เอกภพของชาวสุเมเรียนคือท้องฟ้า 
  2,000 ถึง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวบาบิโลเนียนได้จดบันทึกการเคลื่อนที่ของดวงดาวและได้จัดทำแค็ตตาล็อกดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ทำให้ชาวบาบิโลเนียนทำนายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลบนโลกบนโลกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
***ทั้งชาวสุเมเรียนและชาวบาบิโลเนียนเชื่อว่าเอกภพคือท้องฟ้า

2.แบบจำลองเอกภพของกรีก
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

เป็นชนกลุ่มแรกที่ริเริ่มใช้คำว่า"cosmology"มีความหมายว่าเอกภพวิทยา 
      แนวคิดที่สำคัญ
        -อาริสโตเติล เสนอว่า โลกมีทรงกลม
        -อาริสตาร์คัส แห่งซามอส บุคคลแรกในประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง และโลกจะโคจรครบ1รอบ ในเวลา1ปี
        -ทอเลมี เชื่อว่าโลกแบน ส่วนดาวฤกษ์โคจรรอบโลกรอบละ1วัน และอยู่ไกลจากโลกมาก

3.แบบจำลองเอกภพของเคพเลอร์

ทิโค บราห์ ไม่เชื่อว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม เขาได้มอบผลงานทั้งหมดให้ โยฮันเนส เคพเลอร์ เคพเลอร์ได้บันทึกตำแหล่งและจำลองการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่อธิบายได้ว่าดาวเคราะห์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ที่โฟกัสจุดหนังที่จุดโฟกัสจุดหนึ่งของวงโคจรรูปวงรีนั้น กลายเป็นกฎเคลื่อนที่ 3 ข้อ

4.แบบจำลองเอกภพของกาลิเลโอ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลองเอกภพของกาลิเลโอ

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ได้นำกล้องส่องทางไกลซึ่งประดิษฐ์คิดค้นโดยชาวฮอลแลนด์ มาประยุกต์สร้างขึ้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงเพื่อใช้ส่องดูวัตถุท้องฟ้า กาลิเลโอพบว่า พื้นผิวของดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมขรุขระ พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีจุด (Sunspots) และมิได้เป็นทรงกลมที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นกาลิเลโอพบว่าดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวาร 4 ดวง และสรุปว่า ดวงจันทร์ทั้งสี่มิได้โคจรรอบโลกแต่โคจรรอบดาวพฤหัสบดี สิ่งที่กาลิเลโอค้นพบขัดแย้งกับคำสอนของอริสโตเติลที่ว่า โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล วัตถุท้องฟ้าทุกอย่างโคจรรอบโลก
ต่อมาเซอร์ ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบการโคจรดังกล่าวเกิดจากผลของแรงโน้มถ่วงสากล จึงทำให้นักดาราศาสตร์ยอมรับกฏ 3 ข้อของเคพเลอร์

กำเนิดเอกภพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทฤษฎีบิกแบง
ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เหตุการณ์บิกแบง(Big Bang) เป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพและเวลา โดยอธิบายว่าเอกภพเริ่มจากพลังงานเปลี่ยนเป็นสสาร เกิดการระเบิดของจุดเล็กๆที่มีอุณหภูมิสูงมหาศาล จากนั้นอนุภาคที่เกิดขึ้นครั้งแรกรวมตัวกลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งมีิิวิวัฒนาการจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ฯลฯ

ข้อสังเกตที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง
1.การขยายตัวของเอกภพ

นักดาราศาสตร์ทำการสำรวจการเลื่อนแดงของกระจุกกาแล็กซีและพบว่า กระจุกกาแล็กซีทั้งหลายกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากโลกมากขึ้นในทุกทิศทาง จึงตั้งสมมติฐานว่า เอกภพกำลังขยายตัว
โดยมีสมมติฐานว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของเอกภพและกาลเวลา จุดที่เวลาของเอกภพ T = 0, สสารและพลังงานคือหนึ่งเดียว เรียกว่า ซิงกูลาริตี้” (Singularity)

        กำหนดให้     T0 = เวลาเริ่มต้น กระจุกกาแล็กซีทั้งหลายเคยเป็นหนึ่งเดียวกัน
                               = ความเร็วในการถอยห่างของกาแล็กซี
                            H = ค่าคงที่ของฮับเบิล = 71 km/s/b (กิโลเมตร/วินาที/ล้านพาร์เซก)
                            d = ระยะทางจากโลกถึงกระจุกกาแล็กซี
         
              สูตร     T0   = d /v
                         T0   = d/H0d = 1/ H0
                               = 1 / (71 km/s/Mpc)
                               = (1/71)(Mpc-s/km) x (3.09 x 1019 km/1 Mpc) x (1 year / 3.156 x 107 s)
                               = 1.3 x 1010 ปี
           ผลลัพธ์ที่ได้คือ เอกภพเกิดขึ้นเมื่อ 13,000 ล้านปีมาแล้ว
2.การค้นพบคลื่นไมโคเวฟพื้นหลังจากอวกาศ
อาร์โน เพนเซียสและรอเบิร์ต วิลสัน พบสัญญาณวิทยุในช่วงของคลื่นไมโคเวฟตลอดเวลา ทราบภายหลังสัญญาณมาจากอวกาศ ต่อมาค.ศ.1989ได้มีการส่งดาวเทียมไปสำรวจอวกาศที่ชื่อว่า โคบี จึงสรุปได้ว่า คลื่นไมโคเวฟ คือ การแผ่พลังงานที่เหลือหลังบิกแบงประมาณ 300,000 ปี

กาแล็กซี(Galaxy)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาแลคซี่
คืออาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนับแสนล้านดวงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากบิกแบงประมาณ 1,000ล้านปี ภายในประกอบด้วยกาแลกซีจำนวนมหาศาล 

กาแล็กซีทางช้างเผือก
      กาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน มีดาวฤกษ์ประมาณแสนล้านดวง มีมวลรวมประมาณ 9 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
                จาน (Disk) ประกอบด้วยแขนของกาแล็กซี มีดาวฤกษ์ประมาณ 400,000 ล้านดวง องค์ประกอบหลักเป็นฝุ่น แก๊สและประชากรดาวประเภทหนึ่ง (Population I) ซึ่งมีสเปคตรัมของโลหะอยู่มาก
                 ส่วนโป่ง (Bulge) คือบริเวณใจกลางของกาแล็กซี มีฝุ่นและแก๊สเพียงเล็กน้อย องค์ประกอบหลักเป็นประชากรดาวประเภทหนึ่งที่เก่าแก่ และประชากรดาวประเภทสอง (Population II) ซึ่งเป็นดาวเก่าแก่แต่มีโลหะเพียงเล็กน้อย
                  เฮโล (Halo) อยู่ล้อมรอบส่วนโป่งของกาแล็กซี มีองค์ประกอบหลักเป็น กระจุกดาวทรงกลม” (Global Cluster) อยู่เป็นจำนวนมาก มีกระจุกดาวทรงกลมเป็นโครงสร้างเก่าแก่ของกาแล็กซี โคจรขึ้นลงผ่านส่วนโป่งของกาแล็กซี

กาแล็กซีเพื่อนบ้าน
ทางช้างเผือก (ซ้าย),เมฆแมกเจลแลนใหญ่(ขวาบน),เมฆแมกเจลแลนเล็ก(ขวาล่าง)

ในต้นคริสตศตวรรษที่ 16  เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinand Magellan) นักสำรวจชาวโปรตุเกส ได้ล่องเรือลงมายังตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ได้สังเกตว่า ใกล้ขั้วฟ้าใต้มีเมฆขาว 2 แห่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายทางช้างเผือกแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงตั้งชื่อว่า เมฆแมกเจนแลนใหญ่ (Large Magellenic Cloud) และ เมฆแมกเจนแลนเล็ก (Small Magellenic Cloud) ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า เมฆแมกเจลแลนทั้งสองคือกาแล็กซีไร้รูปทรง ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก
กาแล็กซีแอนโดรมีดา (M31 Andromeda Galaxy) เป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเล็กน้อย   ซึ่งอยู่ห่างออกไป 2.9 ล้านปีแสง  สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
***นักดาราศาสตร์พบกว่ากาแล็กซีแอนโดรมีดาและกาแล็กซีทางช้างเผือกกำลังเคลื่อนที่เข้าหากัน และจะปะทะกันในอีกประมาณ 3 - 5 พันล้านปีข้างหน้า
กาแล็กซีดุมล้อ (M33 Pinwheel Galaxy)อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3 ล้านปีแสง

ประเภทกาแล็กซี
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.กาแล็กซีปกติ ตามแผนภาพของฮับเบิล
2.กาแล็กซีไม่มีรูปแบบ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กาแล็กซีปกติแบ่งออกเป็น3กลุ่มใหญ่ ตามแผนภาพฮับเบิล
1.กาแล็กซีรี มีรูปร่างค่อนข้างรี ใช้รหัสว่า E ตามด้วยตัวเลขเพื่อแสดงถึงความแป้นของรูปทรงรี
2.กาแล็กซีกังหันหรือก้นหอย ใจกลางสว่างมาก มีแขนหลัก2แขน คล้ายพัดลม ใช้รหัส S  กาแล็กซีกังหันแบบมีคานใช้รหัส SB
3.กาแล็กซีเลนส์หรือลูกสะบ้า ลักษณะคล้ายเลนส์ ใช้รหัส S0

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ธรณีประวัติ

ธรณีประวัติ

 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


 อายุทางธรณีวิทยา
    หลักฐานและร่องรอยต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหินและแผ่นธรณีภาคถูกใช้อธิบายอายุของหินบนโลกหรืออายุทางธรณีวิทยา

  1.  อายุเปรียบเทียบ (relative age) เป็นการบอกว่าหินชนิดหนึ่งมีอายุมากหรือน้อยกว่าหินอีกชนิดหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหิน การลำดับชั้นหิน และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินสามารถบอกอายุของหินได้ว่าเป็นหินในยุคใด หรือมีช่วงประมาณอายุเท่าใด วิธีนี้ประยุกต์ใช้กับหินตะกอน เนื่องจากชั้นหินตะกอนมีการเรียงตัวที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
  2.  อายุสัมบูรณ์ (absolute age) เป็นอายุของหินหรือวัตถุต่าง ๆ ที่สามารถบอกได้เป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน โดยคำนวณจากครึ่งชีวิต(half-life)ของธาตุกัมมันตรังสีที่ปะปนอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี  จังหวัดปทุมธานี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี  จังหวัดปทุมธานี
เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี
จังหวัดปทุมธานี

ซากดึกดำบรรพ์
    ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในอดีต ซึ่งอาจเป็นโครงกระดูกหรือรอยพิมพ์ที่ฝังตัวอยู่ในหิน การศึกษาซากดึกดำบรรพ์จะช่วยให้รู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต บ่งบอกความเป็นมาของพื้นที่นั้น ๆ บอกอายุของชั้นหิน บอกสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศในอดีตได้ ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดไม่ได้กลายเป็นหิน เช่น ช้างแมมมอธที่ตายลงในธารน้ำแข็งแต่ยังคงสภาพเดิมเพราะถูกแช่แข็งมานาน หรือซากแแมลงที่ตายในยางไม้หรืออำพัน


***ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย
    1. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์หมู่เกาะตะลุเตา จังหวัดสตูล พบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินดินดานหรือหินทรายหลายแห่ง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และพบร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนาราม จังหวัดลพบุรี พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด เช่น แอมโมไนต์ ปะการัง และสาหร่าย การค้นพบซากเหล่านี้ แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเล ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง
    2. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากและรอยเท้าไดโนเสาร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่อำเภอภูเวียง ได้พบซากไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่และได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอร์สิรินธรเน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รอยเท้าไดโนเสาร์ ภูเวียง

    3.ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จังหวัดลำปาง พบซากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นถ่านหินหลายชนิดและพบการสะสมตัวของหอยน้ำจืด สันนิษฐานว่าบริเวณนี้อาจเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่มาก่อน
        – สุสานหอยแหลมโพธิ์ จังหวัดกระบี่ มีเปลือกหอยน้ำจืดทับถมกันเป็นจำนวนมาก


การลำดับชั้นหิน
       เป็นการทับถมของตะกอนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเมื่อผ่านไปหลายล้านปี ชั้นตะกอนดังกล่าวจะแข็งตัวเป็นชั้นหินตะกอนซ้อนกัน ชั้นตะกอนแรกเป็นชั้นหินที่แก่ที่สุด ไล่เรียงลำดับขึ้นมาชั้นบน


ยุคของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยุคของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์

พรีแคมเบียน (Precambrian)
 แบคทีเรียโบราณอายุ 3.5 พันล้านปี
เป็นยุคที่กำเนิดโลก พบฟอสซิลน้อยมาก ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ 3,800 ล้านปี

แคมเบรียน (Cambrian) 
ไทร์โลไบต์
เกิดทวีปใหญ่รวมตัวกันทางขั้วโลกใต้ เป็นยุคของแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียว บนพื้นดินยังว่างเปล่า


ออร์โดวิเชียน (Ordovician)
       ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดประการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก สัตว์ทะเลแพร่พันธุ์ขึ้นสู่บริเวณน้ำตื้น เกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ปลาไม่มีขากรรไกร เกิดสปอร์ของพืชบกขึ้นครั้งแรก


ไซลูเรียน (Silurian) 
       เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal) เป็นธาตุอาหาร เกิดปลามีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ 

ดีโวเนียน (Devonian) 
        อยู่ในช่วง 417 – 354 ล้านปีก่อน อเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ สก็อตแลนด์ รวมตัวกับยุโรป เป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและมีป่าเกิดขึ้น

คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)
       เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน 

เพอร์เมียน (Permian) 

         เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิก เปลือกโลกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ "พันเจีย" (Pangaea)  ในทะเลมีแนวประการังและไบโอซัวร์ บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดมหายุคพาเลโอโซอิก

ไทรแอสสิก (Triassic) 
เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ  สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์   ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น 

จูแรสสิก (Jurassic) 
      
       เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก ไดโนเสาร์บินได้เริ่มพัฒนาเป็นสัตว์ปีกจำพวกนก ไม้ในป่ายังเป็นพืชไร้ดอก  หอยแอมโมไนต์พัฒนาแพร่หลายและวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก 

                                                             เครเทเชียส (Cretaceous) 
       เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคเมโสโซอิก สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ งู นก และพืชมีดอก ไดโนเสาร์วิวัฒนาการให้มีนอ ครีบหลัง และผิวหนังหนาสำหรับป้องกันตัวเกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดสิ้น สิ่งมีชีวิตอื่นสูญพันธุ์ไปประมาณร้อยละ 70 ของสปีชีส์ 

เทอเชียรี (Tertiary)
        เป็นยุคแรกของมหายุคเซโนโซอิก อยู่ในช่วง 65 - 1.8 ล้านปีก่อน แผ่นธรณีอเมริกาเคลื่อนเข้าหากัน แผ่นธรณีอินเดียเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นธรณีเอเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงทิเบต  ยุคเทอเชียรีแบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ พาลีโอจีนและนีโอจีน 
  • พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นสมัยแรกของยุคเซโนโซอิก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ 
  • นีโอจีน (Neogene) เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus) 
ควอเทอนารี (Quaternary) 
     เป็นยุคสุดท้ายของยุคโซโนโซอิก อยู่ในช่วง 1.8 ล้านปีก่อน จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ ไพลส์โตซีนและโฮโลซีน

  • ไพลส์โตซีน (Pleistocene) เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอลาสกาเชื่อมต่อกัน มีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) 
  • โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมดสิ้น ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป