วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสุริยะ


การกำเนิดสุริยะ
1. แก๊สและฝุ่นเคลื่นที่ตลอดเวลา ใจกลางมีมวลมากขึ้น และเมื่อกลุ่มแก๊สมีมวลมากขึ้นจะเริ่มหดตัวด้วยแรงโน้มถ่วง
2. เมื่อมีการยุบตัวทำให้เกิดความดันมากขึ้น ใจกลางมีอุณหภูมิสูงกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด จนเกิดปฆฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ เกิดเป็นดวงอาทิตย์
3. ฝุ่นและแก๊สที่เหลือรอบนอกเคลื่นที่หมุนวนเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์
4. ใกล้ดวงอาทิตย์รวมตัวเป็นของแข็ง ซึ่งก็คือ ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคาร
ไกลออกไปเป็นดาวขนาดใหญ่ที่มีส่วนประกอบเป็นแก๊ส ซึ่งก็คือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
5. ของแข็งที่เหลือกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย
6. สสารที่กระจายรอบนอกเป็นแหล่งกำเนิดดาวหาง

เขตบริวารดวงอาทิตย์
มี 4 คือ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขตบริวารดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ชั้นใน ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร เป็นพื้นผิวแข็งเป็นหิน ใช้เวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งร้อยล้านปีหลังจากการเกิดดวงอาทิตย์
แถบดาวเคราะห์น้อย เกิดจากการถูแรงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี และดวงอาทิตย์ทำให้รวมตัวเป็นก้อนใหญ่ไม่ได้
ดาวเคราะห์ชั้นนอก เป็นไฮโดรเจนกับฮีเลียม มีดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
เขตนอกสุด ดาวางออร์ต 
                             
การแบ่งดาวเคราะห์เพื่อการสังเกตจากโลก
ดาวพุธและดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน
ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์วงนอก
ดวงอาทิตย์ (The Sun) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก อยู่ห่างจากโลก 149,600,000 กิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU)  ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก 333,000 เท่า แต่มีความหนาแน่นเพียง 0.25 เท่าของโลก เนื่องจากมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1%

โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Fusion core)อยู่ที่ใจกลางของดวงงอาทิตย์ถึงระยะ 25% ของรัศมี จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหลอมอะตอมของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม และปลดปล่อยพลังงานออกมา
โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ 25 - 70% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นจากแก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกนำขึ้นสู่ชั้นบนโดยการแผ่รังสีด้วยอนุภาคโฟตอน

โซนการพาความร้อน (Convection zone) อยู่ที่ระยะ 70 - 100% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นไม่สามารถแผ่สู่อวกาศได้โดยตรง เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์เต็มไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนซึ่งเคลื่อนที่หมุนวนด้วยกระบวนการพาความร้อน  พลังงานจากภายในจึงถูกพาออกสู่พื้นผิวด้วยการหมุนวนของแก๊สร้อน

คอโรนา (Corona) เป็นบรรยากาศชั้นบนสุด สามารถมองเห็นได้เป็นวงแสงสีขาว เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น

ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์
  โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ชั้นในสุดมองเห็นได้
  โครโมสเฟียร์ (Chromosphere) เป็นบรรยากาศชั้นกลางของดวงอาทิตย์  ของเขตไม่แน่นอนเนื่องจากบรรยากาศในชั้นนี้ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

 ลมสุริยะ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
         ดวงอาทิตย์เป็นก้อนแก๊สซึ่งมีอุณหภูมิสูงจนอะตอมของไฮโดรเจนสูญเสียอิเล็กตรอนกลายเป็นประจุทุกๆ วินาที เราเรียกสถานะนี้ว่า "พลาสมา" (Plasma)  ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยมวลสู่อวกาศในรูปของลมสุริยะ (Solar Wind)  ลมสุริยะไม่ใช่กระแสลมในบรรยากาศ  แต่เป็นกระแสอนุภาคพลังงานสูงซึ่งเกิดจากแก๊สร้อนของดวงอาทิตย์สูญเสียประจุสู่ห้วงอวกาศในรูปของโปรตอน อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ
ผลกระทบคือ เกิดแสงเหนือใต้ ไฟฟ้าแรงสูงดับในประเทศที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ การสื่อสารทางวิทยุติดขัด เป็นภัยต่อนักบินอวกาศ ทำให้ร่างกายมนุษย์อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ถึงระดับDNAทำให้พันธุกรรมผิดเพี้ยนไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น