วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ธรณีประวัติ

ธรณีประวัติ

 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


 อายุทางธรณีวิทยา
    หลักฐานและร่องรอยต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหินและแผ่นธรณีภาคถูกใช้อธิบายอายุของหินบนโลกหรืออายุทางธรณีวิทยา

  1.  อายุเปรียบเทียบ (relative age) เป็นการบอกว่าหินชนิดหนึ่งมีอายุมากหรือน้อยกว่าหินอีกชนิดหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหิน การลำดับชั้นหิน และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินสามารถบอกอายุของหินได้ว่าเป็นหินในยุคใด หรือมีช่วงประมาณอายุเท่าใด วิธีนี้ประยุกต์ใช้กับหินตะกอน เนื่องจากชั้นหินตะกอนมีการเรียงตัวที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
  2.  อายุสัมบูรณ์ (absolute age) เป็นอายุของหินหรือวัตถุต่าง ๆ ที่สามารถบอกได้เป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน โดยคำนวณจากครึ่งชีวิต(half-life)ของธาตุกัมมันตรังสีที่ปะปนอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี  จังหวัดปทุมธานี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี  จังหวัดปทุมธานี
เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี
จังหวัดปทุมธานี

ซากดึกดำบรรพ์
    ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในอดีต ซึ่งอาจเป็นโครงกระดูกหรือรอยพิมพ์ที่ฝังตัวอยู่ในหิน การศึกษาซากดึกดำบรรพ์จะช่วยให้รู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต บ่งบอกความเป็นมาของพื้นที่นั้น ๆ บอกอายุของชั้นหิน บอกสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศในอดีตได้ ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดไม่ได้กลายเป็นหิน เช่น ช้างแมมมอธที่ตายลงในธารน้ำแข็งแต่ยังคงสภาพเดิมเพราะถูกแช่แข็งมานาน หรือซากแแมลงที่ตายในยางไม้หรืออำพัน


***ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย
    1. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์หมู่เกาะตะลุเตา จังหวัดสตูล พบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินดินดานหรือหินทรายหลายแห่ง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และพบร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนาราม จังหวัดลพบุรี พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด เช่น แอมโมไนต์ ปะการัง และสาหร่าย การค้นพบซากเหล่านี้ แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเล ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง
    2. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากและรอยเท้าไดโนเสาร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่อำเภอภูเวียง ได้พบซากไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่และได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอร์สิรินธรเน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รอยเท้าไดโนเสาร์ ภูเวียง

    3.ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
        – แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จังหวัดลำปาง พบซากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นถ่านหินหลายชนิดและพบการสะสมตัวของหอยน้ำจืด สันนิษฐานว่าบริเวณนี้อาจเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่มาก่อน
        – สุสานหอยแหลมโพธิ์ จังหวัดกระบี่ มีเปลือกหอยน้ำจืดทับถมกันเป็นจำนวนมาก


การลำดับชั้นหิน
       เป็นการทับถมของตะกอนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเมื่อผ่านไปหลายล้านปี ชั้นตะกอนดังกล่าวจะแข็งตัวเป็นชั้นหินตะกอนซ้อนกัน ชั้นตะกอนแรกเป็นชั้นหินที่แก่ที่สุด ไล่เรียงลำดับขึ้นมาชั้นบน


ยุคของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยุคของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์

พรีแคมเบียน (Precambrian)
 แบคทีเรียโบราณอายุ 3.5 พันล้านปี
เป็นยุคที่กำเนิดโลก พบฟอสซิลน้อยมาก ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ 3,800 ล้านปี

แคมเบรียน (Cambrian) 
ไทร์โลไบต์
เกิดทวีปใหญ่รวมตัวกันทางขั้วโลกใต้ เป็นยุคของแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียว บนพื้นดินยังว่างเปล่า


ออร์โดวิเชียน (Ordovician)
       ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดประการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก สัตว์ทะเลแพร่พันธุ์ขึ้นสู่บริเวณน้ำตื้น เกิดสัตว์มีกระดูกสันหลังขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ปลาไม่มีขากรรไกร เกิดสปอร์ของพืชบกขึ้นครั้งแรก


ไซลูเรียน (Silurian) 
       เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal) เป็นธาตุอาหาร เกิดปลามีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ 

ดีโวเนียน (Devonian) 
        อยู่ในช่วง 417 – 354 ล้านปีก่อน อเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ สก็อตแลนด์ รวมตัวกับยุโรป เป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและมีป่าเกิดขึ้น

คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)
       เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน 

เพอร์เมียน (Permian) 

         เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิก เปลือกโลกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ "พันเจีย" (Pangaea)  ในทะเลมีแนวประการังและไบโอซัวร์ บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดมหายุคพาเลโอโซอิก

ไทรแอสสิก (Triassic) 
เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ  สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์   ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น 

จูแรสสิก (Jurassic) 
      
       เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก ไดโนเสาร์บินได้เริ่มพัฒนาเป็นสัตว์ปีกจำพวกนก ไม้ในป่ายังเป็นพืชไร้ดอก  หอยแอมโมไนต์พัฒนาแพร่หลายและวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก 

                                                             เครเทเชียส (Cretaceous) 
       เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคเมโสโซอิก สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ งู นก และพืชมีดอก ไดโนเสาร์วิวัฒนาการให้มีนอ ครีบหลัง และผิวหนังหนาสำหรับป้องกันตัวเกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดสิ้น สิ่งมีชีวิตอื่นสูญพันธุ์ไปประมาณร้อยละ 70 ของสปีชีส์ 

เทอเชียรี (Tertiary)
        เป็นยุคแรกของมหายุคเซโนโซอิก อยู่ในช่วง 65 - 1.8 ล้านปีก่อน แผ่นธรณีอเมริกาเคลื่อนเข้าหากัน แผ่นธรณีอินเดียเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นธรณีเอเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงทิเบต  ยุคเทอเชียรีแบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ พาลีโอจีนและนีโอจีน 
  • พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นสมัยแรกของยุคเซโนโซอิก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ 
  • นีโอจีน (Neogene) เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus) 
ควอเทอนารี (Quaternary) 
     เป็นยุคสุดท้ายของยุคโซโนโซอิก อยู่ในช่วง 1.8 ล้านปีก่อน จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ ไพลส์โตซีนและโฮโลซีน

  • ไพลส์โตซีน (Pleistocene) เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอลาสกาเชื่อมต่อกัน มีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) 
  • โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมดสิ้น ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น