ธรณีประวัติ
อายุทางธรณีวิทยา
หลักฐานและร่องรอยต่าง ๆ
ที่ปรากฏอยู่บนหินและแผ่นธรณีภาคถูกใช้อธิบายอายุของหินบนโลกหรืออายุทางธรณีวิทยา
- อายุเปรียบเทียบ
(relative age) เป็นการบอกว่าหินชนิดหนึ่งมีอายุมากหรือน้อยกว่าหินอีกชนิดหนึ่ง
โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหิน การลำดับชั้นหิน
และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินสามารถบอกอายุของหินได้ว่าเป็นหินในยุคใด
หรือมีช่วงประมาณอายุเท่าใด วิธีนี้ประยุกต์ใช้กับหินตะกอน
เนื่องจากชั้นหินตะกอนมีการเรียงตัวที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
- อายุสัมบูรณ์
(absolute age) เป็นอายุของหินหรือวัตถุต่าง ๆ
ที่สามารถบอกได้เป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน โดยคำนวณจากครึ่งชีวิต(half-life)ของธาตุกัมมันตรังสีที่ปะปนอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น
ๆ
เจดีย์หอยนางรมยักษ์ มีอายุประมาณ5,500ล้านปี
จังหวัดปทุมธานี
ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) คือ
ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในอดีต ซึ่งอาจเป็นโครงกระดูกหรือรอยพิมพ์ที่ฝังตัวอยู่ในหิน
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์จะช่วยให้รู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
บ่งบอกความเป็นมาของพื้นที่นั้น ๆ บอกอายุของชั้นหิน บอกสภาพแวดล้อม
และสภาพภูมิอากาศในอดีตได้ ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดไม่ได้กลายเป็นหิน เช่น
ช้างแมมมอธที่ตายลงในธารน้ำแข็งแต่ยังคงสภาพเดิมเพราะถูกแช่แข็งมานาน
หรือซากแแมลงที่ตายในยางไม้หรืออำพัน
***ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว
มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด
และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย
1. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก
แหล่งที่สำรวจพบ เช่น
– แหล่งซากดึกดำบรรพ์หมู่เกาะตะลุเตา จังหวัดสตูล
พบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินดินดานหรือหินทรายหลายแห่ง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
และพบร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์
– แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนาราม จังหวัดลพบุรี
พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด เช่น แอมโมไนต์ ปะการัง และสาหร่าย การค้นพบซากเหล่านี้
แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเล ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง
2. ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ
เช่น
– แหล่งซากและรอยเท้าไดโนเสาร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น
ที่อำเภอภูเวียง ได้พบซากไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่และได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอร์สิรินธรเน
3.ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก แหล่งที่สำรวจพบ
เช่น
– แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
จังหวัดลำปาง
พบซากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นถ่านหินหลายชนิดและพบการสะสมตัวของหอยน้ำจืด
สันนิษฐานว่าบริเวณนี้อาจเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่มาก่อน
– สุสานหอยแหลมโพธิ์ จังหวัดกระบี่
มีเปลือกหอยน้ำจืดทับถมกันเป็นจำนวนมาก
การลำดับชั้นหิน
เป็นการทับถมของตะกอนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเมื่อผ่านไปหลายล้านปี
ชั้นตะกอนดังกล่าวจะแข็งตัวเป็นชั้นหินตะกอนซ้อนกัน ชั้นตะกอนแรกเป็นชั้นหินที่แก่ที่สุด
ไล่เรียงลำดับขึ้นมาชั้นบน
ยุคของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์
พรีแคมเบียน (Precambrian)
แบคทีเรียโบราณอายุ 3.5 พันล้านปี
เป็นยุคที่กำเนิดโลก พบฟอสซิลน้อยมาก ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดพบที่กรีนแลนด์มีอายุ 3,800 ล้านปี
แคมเบรียน (Cambrian)
ไทร์โลไบต์
เกิดทวีปใหญ่รวมตัวกันทางขั้วโลกใต้ เป็นยุคของแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียว
บนพื้นดินยังว่างเปล่า
ออร์โดวิเชียน (Ordovician)
ไซลูเรียน (Silurian)
เกิดสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกซึ่งใช้พลังงานเคมีจากภูเขาไฟใต้ทะเล (Hydrothermal)
เป็นธาตุอาหาร เกิดปลามีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์
ดีโวเนียน (Devonian)
อยู่ในช่วง 417
– 354 ล้านปีก่อน อเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ สก็อตแลนด์ รวมตัวกับยุโรป เป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ ปลามีเหงือกแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เกิดปลามีกระดอง ปลาฉลาม หอยฝาเดียว (Ammonite) และแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก บนบกเริ่มมีพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและมีป่าเกิดขึ้น
คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)
เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน
เพอร์เมียน (Permian)
เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาเลโอโซอิก เปลือกโลกทวีปรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ชื่อ "พันเจีย"
(Pangaea) ในทะเลมีแนวประการังและไบโอซัวร์ บนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดมหายุคพาเลโอโซอิก
ไทรแอสสิก (Triassic)
เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ
สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์ ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น
จูแรสสิก (Jurassic)
เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก ไดโนเสาร์บินได้เริ่มพัฒนาเป็นสัตว์ปีกจำพวกนก ไม้ในป่ายังเป็นพืชไร้ดอก หอยแอมโมไนต์พัฒนาแพร่หลายและวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก
เครเทเชียส (Cretaceous)
เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคเมโสโซอิก สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่
ได้แก่ งู นก และพืชมีดอก ไดโนเสาร์วิวัฒนาการให้มีนอ ครีบหลัง และผิวหนังหนาสำหรับป้องกันตัวเกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดสิ้น สิ่งมีชีวิตอื่นสูญพันธุ์ไปประมาณร้อยละ 70 ของสปีชีส์
เทอเชียรี (Tertiary)
เป็นยุคแรกของมหายุคเซโนโซอิก
อยู่ในช่วง 65 - 1.8 ล้านปีก่อน แผ่นธรณีอเมริกาเคลื่อนเข้าหากัน แผ่นธรณีอินเดียเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นธรณีเอเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงทิเบต
ยุคเทอเชียรีแบ่งออกเป็น
2 สมัยคือ พาลีโอจีนและนีโอจีน
- พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นสมัยแรกของยุคเซโนโซอิก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ
- นีโอจีน (Neogene) เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus)
ควอเทอนารี (Quaternary)
เป็นยุคสุดท้ายของยุคโซโนโซอิก อยู่ในช่วง 1.8
ล้านปีก่อน
จนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สมัยคือ ไพลส์โตซีนและโฮโลซีน
- ไพลส์โตซีน (Pleistocene) เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอลาสกาเชื่อมต่อกัน มีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo
sapiens)
- โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมดสิ้น ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น