ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
![รูปภาพที่เกี่ยวข้อง](https://i.kinja-img.com/gawker-media/image/upload/s--yUGIXJFL--/c_scale,fl_progressive,q_80,w_800/k3pcc0auhlwo9tva9m83.jpg)
ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน
(Plate Tectonics) ได้แก่ แผ่นดินไหว และภูเขาไฟ
ปรากฏการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี
เหตุการณ์เหล่านี้นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสูญเสียมั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากแล้ว
ยังอาจเป็นสาเหตุของภัยพิบัติรุนแรงอีกด้วย เช่น สึนามิ โคลนถล่ม และมลพิษทางอากาศ
เป็นต้น
แผ่นดินไหว (Earthquake)
แผ่นดินไหวเเกิดได้อย่างไร
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นผลจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้บนแผ่นธรณี ทำให้หิน เปลี่ยนลักษณะ เลื่อนตัว แตกหัก และถ่ายโอนพลังงานอย่างรวดเร็วในรูปของคลื่นไหวสะเทือน(seismic) ซึ่งจะแผ่กระจายจากจุดกำเนิดการไหว ที่เรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)
จากสถิติการศึกษาแผ่นดินไหวสามารถแบ่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหวตามความลึกได้ 3 ระดับ
- แผ่นดินไหวที่มีระดับตื้น ลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตร
- แผ่นดินไหวที่มีระดับปานกลาง ลึกระหว่าง 70-300 กิโลเมตร
- แผ่นดินไหวที่มีระดับลึก ลึกมากกว่า 300 กิโลเมตร
นอกจากจะเกิดจากการเคลื่นที่ของแผ่นธรณี ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆอีกด้วย เช่น เกิดจากภูเขาไฟระเบิด การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน เป็นต้น
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวพลังงานที่ถูกปลดปล่อยจะมี 2 ชนิด คือ
1. คลื่นในตัวกลาง
- คลื่นปฐมภูมิ ผ่านของแข็ง ของเหว และแก๊สได้
- คลื่นทุติยภูมิ ผ่านได้แค่ของแข็งเท่านั้น
2. คลื่นพื้นผิว(Surface Waves)
- คลื่นเลิฟ Love wave สร้างความเสียหายกับฐานอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
- คลื่นเรย์ลี Rayleigh wave ทำให้ผิวโลกมีการสั่นขึ้นลง
เครื่องวัดความไหวสะเทือน(seismograph) เครื่องมือนี้จะบันทึกและวัดค่าการสั่นไหวต่างๆของพื้นโลกที่เกิดจากแผ่นดินไหว
แนวแผ่นดินไหว
- แนวรอยต่อรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า Ring of fire วงแหวนแห่งไฟ
- แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรปและภูเขาหิมาลัยในเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 15 บริเวณพม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี และแบเมดิเตอร์เรเนียนในนยุโรป
- แนวเทือกเขากลางมหาสมุทรต่างของโลก คิดเป็นร้อยละ 5
ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
Charles F. Richter เป็นคนแรกที่คิดค้นสูตรการวัดขนาดแผ่นดินไหว ริกเตอร์ แต่ต้องเป็นสถานีที่อยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหวในระยะ 200-300 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีมาตราขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหว(seismic-moment magnitude scale) หาค่าความเกร็งของหิน (strength) ซึ่งสามมารถตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่ห่างไกลจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก
ความรุนแรงกำหนดจากผลกระทบ ที่นิยมคือ มาตราเมอร์คัลลีปรับปรุง
![ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว มาตราเมอร์คัลลี](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg1GrNK6zDt0AdhVpfuekw8Fo9Rwp2Y3Gkp1zmmffA1YjJeHQsYiQr3sGbTQ09dfaLfRRW6QbldmDLhAAuj2SF-zhuJOqkMooYVOnFdY9xP7B-exFz2WS0CjFp8ZvJEdCltTNjcUK_gmUM/s1600/2188107.jpg)
ภูเขาไฟ (Volcano)
การระเบิดของภูเขาไฟ
เกิดจากการปะทุของแมกมาหรือหินหนืด แก๊ส และเถ้าภูเขาไปจากเปลือกโลก โดยจะพุ่งออกมาทางช่องด้านข้างและรอยแยกของภูเขาไฟ เมื่อหินหนืดขึ้นสู่ผิวโลกจะเรียนว่าลาวา(Lava) ส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความหนืดของหินหนืด คือ ซิลิกา SiO2
***แก๊สที่พบจากการระเบิดของภูเขาไฟประกอบด้วย ไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน แก๊สในกลุ่มกำมะถัน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์
ผลของภูเขาไฟที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ
หลังจากภูเขาไฟระเบิด ลักษณะรูปร่างของพื้นที่ภูเขาไฟจะเปลี่ยนไป เช่น ภูเขาหินบะซอลต์ บ้านซับบอน จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เกิดจากลาวาทับถมกันหลายชั้นเมื่อแข็งตัวก็จะกลายเป็นที่ราบและเนินเขา และอีกลักษณะ คือ เกิดจากการทำลาย การทรุดตัว และการกัดเซาะผุพังของภูเขาไฟทำให้พื้นที่ภูเขาไฟหายไปหรือเปลี่ยนไป เช่น ภูเขาไฟฟูจิ แต่เดิมมี3ลูก ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนที่พื้นที่ภูเขาไฟเดิมถูกทำลายหายไป
ภูเขาไฟในประเทศไทย
จากตัวอย่างหินบะซอลต์ที่มีอายุตั้งแต่ 1.8 ล้านปี ถึง 10,000 ปี ได้แก่ บริเวณ จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี ตราด สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภูเขาไฟในไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ภูเขาไฟในไทยมีรูปร่างที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมานานแล้วและกัดกร่อนผุพังทำลายจนไม่เห็นรูปร่างของภูเขาไฟชัดเจน
โทษและประโยชน์จากภูเขาไฟ
- โทษ ควันหรือเถ้าธุลีส่งผลให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง กลุ่มแก๊สที่พ่นออกมาส่งผลให้เกิดฝนกรด และการระเบิดส่งผลให้เกิดสึนามิ
- ประโยขน์ ดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของเศษหินภูเขาไฟในบริเวณนั้นจะมีแร่ธาตุสะสมอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและอุตสาหกรรม และลาวาที่แข็งกลายเป็นหินบะซอลต์ที่มีแร่ปนอยู่เมื่อวลาผ่านไปหินบะซอลต์ผุพังอัญมณีก็จะหลุดออกมาจากหิน หินบะซอลต์เกี่ยวข้องกับการกำเนิดอัญมณึี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น