ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์
คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก
เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี
หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว
และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ
นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลากลายเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด
การวิวัฒนาการจะขึ้นอยู่กับมวล
มวลน้อย
มีแสงสว่างไม่มาก ใช้เชื้อเพลิงน้อย มีชีวิตยาว จบด้วยการไม่ระเบิด
มวลมาก มีแสงสว่างมาก
ใช้เชื้อเพลิงสิ้นเปลือง มีชีวิตสั้น จบด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่าซูเปอร์โนวา
จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลตั้งต้นมากกว่า 9 ตันเท่าของดวงอาทิตย์
จะมีการระเบิดและดาวจะยุบตัวกลายเป็นนิวตรอนหรือหลุมดำ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลาเอง
ความดันของเนบิวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิภายในสูงขึ้น และเกิดเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด
แรงโน้มถ่างมากกว่าความดัน
เกิดการยุบตัวอีกจนอุณหภูมิสูงถึง
15 ล้านเคลวิน
เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ กลายเป็นดวงอาทิตย์เกิดใหม่
ในอนาคต
ดวงอาทิตย์จะยุบตัว และเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์อีกรอบ
นิวเคลียสฮีเลียมเปลี่ยนเป็นนิวเคลียสของคาร์บอน ในขณะเดียวกันฮีเลียมรอบนอกก็กลายเป็นฮีเลียมอีกครั้ง
อุณหภูมิมิผิวจะลดลง สีเปลี่ยน จะกลายเป็นดาวยักษ์สีแดง
ดาวยักษ์สีแดงจะไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์อีก
ดาวจะยุบลงงเป็นแคระขาวและแก๊สที่อยู่รอบนอกจะเกิดเป็นเนบิลลาและเคลื่ยนตัวออกจากขาว
ดาวแคระขาวและเนบิวลาเป็นจุดสุดท้ายของดวงอาทิตย์
ความส่องสว่างเเละโชติมาตรของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง(Brightness)ของดาวฤกษ์
เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาในเวลา 1 วินาทีต่อหน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร
ค่าการเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ เรียกว่า อันดับความสว่าง (Magnitude) ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน
1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.51เท่า
โชติมาตรของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลก
เรียกว่า โชติมาตรปรากฏ(Apparent magnitude) นำมาใช้เปรียบเทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ไม่ได้
นักดาราศาสตร์จึงกำหนดโชติมาตรสัมบูรณ์(Absolute
magnitude) เป็นค่าโชติมาตรของดาวเมื่อดาวนั้นอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่ากับ
10 พาร์เซก หรือ 32.62 ปีแสง นำมาใช้เปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ทั้งหลาย
***ดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยจะมีความสว่างมาก
ดาวที่มีค่โชติมาตรมากจะมีความสว่างน้อย
สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์
ระยะห่างของดาวฤกษ์
นักดาราศาสตร์จึงคิดค้นหน่วยวัดระยะทางที่เรียกว่า
ปีแสง (light-year) ซึ่งเป็นระยะทางที่แสงใช้เวลาเดิน ทางเป็นเวลา
1 ปี แสงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300,000 km/s ดังนั้น ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าเท่ากับ 9.5
ล้านล้านกิโลเมตร
นัก
ดาราศาสตร์ได้พบวิธีที่จะวัดระยะห่างของดาวฤกษ์เหล่านี้โดยวิธีการใช้ แพรัลแลกซ์(Parallax)
แพรัลแลกซ์
คือการย้ายตำแหน่งปรากฏ ของวัตถุเมื่อผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งต่างกัน
เมื่อโลกอยู่ที่ E1 ผู้สังเกตเห็นดาวฤกษ์ S อยู่ที่ S2 ระยะเชิงมุม S1 ถึง ซึ่งเป็นมุมแพรัลแลกซ์ของดาว S สังเกตุจากจุดที่ห่างกัน 2a หรือ 2 หน่วย ดาราศาสตร์ เมื่อ a =1 หน่วยดาราศาสตร์ ดังมุม จึงเป็นมุมแพรัลแลกซ์สำหรับฐานของการสังเกตที่ห่างกัน 1 หน่วยดาราศาสตร์ ถ้า เท่ากับ p พิลิปดา ระยะทางของดาวฤกษ์ S จากโลกจะเป็น พาร์เซก
ระบบดาวฤกษ์
ระบบดาว (Star system) คือดาวฤกษ์กลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่งที่โคจรอยู่รอบกันและกันโดยมีแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้จับกลุ่มกันไว้ สำหรับดาวฤกษ์จำนวนมากที่มีแรงดึงดูดระหว่างกันมักเรียกว่าเป็น กระจุกดาว แม้ในหลักการแล้ว ทั้งกระจุกดาวและดาราจักร ก็ถือเป็น ระบบดาว เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปรากฏเรียกใช้คำว่า ระบบดาว กับระบบที่มีดาวฤกษ์หนึ่งดวง กับดาวเคราะห์บริวารที่โคจรรอบๆ ด้วย
มวลของดาวฤกษ์
เนื่องจากดาวมีขนาดใหญ่มาก
เราจึงไม่สามารถทำการหามวลของดาวด้วยวิธีชั่งตวงวัด
นักดาราศาสตร์ไม่สามารถคำนวณหาขนาดมวลของดาวดวงเดียวโดดๆ ได้
แต่จะคำนวณหามวลของระบบดาวคู่ซึ่งโคจรรอบกันและกัน
โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างคาบวงโคจรและระยะห่างระหว่างดาวทั้งสอง ตามกฎของเคปเลอร์-นิวตัน ตามสูตร
M1 + M2 = a3 / p2
โดย M1,
M2 =
มวลของดาวทั้งสองในระบบดาวคู่ มีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของดวงอาทิตย์
a = ความยาวของเส้นผ่านครึ่งวงโคจรตามแกนยาว (Semimajor axis)
ของดาวดวงใดดวงหนึ่ง มีหน่วยเป็น AU
p = คาบการโคจร หน่วยเป็นปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น